วันอาทิตย์ที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2553

ทำ Backup Driver ด้วยตัวเอง

ทำ Backup Driver ด้วยตัวเอง


ผมเขียนเรื่องเกี่ยวกับเจ้าหน้าต่างหลาย บานมาหลายตอนแล้ว เริ่มด้วยแนะนำให้รู้จักกับ Live OS, ตามมาด้วย Live Windows, แล้วก็แนะนำวิธีการทำ Live Windows, จนมาถึงตอนล่าสุดที่แนะนำการติดตั้ง VMWare Workstation เพื่อที่ท่านจะนำไปใช้ในการทดสอบ Live OS ที่ท่านสร้างขึ้นก่อนที่จะนำไป Burn ลงแผ่น CD แล้วนำไปใช้ในการบูทเครื่องเพื่อเอา Data ออกมาในเวลาที่เจ้าหน้าต่างหลายบานของพวกเราไม่ยอมทำงานตามปกติ จากตรงนี้ไปก็คงจะเหลือแค่การแก้ปัญหาแบบอันธพาลตามประสาเด็กไทยกันหล่ะครับ ผมขอที่จะไม่พูดถึงวิธีการติดตั้งหน้าต่างหลายบานน๊ะครับ เพราะพวกเราน่าจะทำกันได้ไม่ยากนัก (ก็แค่ใส่แผ่นลงไป Boot เครื่องแล้วเข้าไปที่ BIOS จากนั้นก็สั่งให้เครื่อง Boot From CDROM หรืออะไรทำนองนั้นครับ จากนั้นก็คลิก Next ไปจนกระทั่งใส่ Serial Number แล้วก็นั่งกินขนมเล่นไปประมาณครึ่งชั่วโมงครับ จากนั้นเจ้าหน้าต่างหลายบานก็น่าจะติดตั้งเสร็จ)

เมื่อเราทำการ Reinstall Windows ใหม่อีกครั้งเรียบร้อยแล้ว สิ่งที่เราควรจะทำก่อนอื่นเลยก็คือการติดตั้ง Driver ลงไปเพื่อให้ Windows รู้จักและสามารถทำงานกับอุปกรณ์ต่าง ๆ ในเครื่องของเราได้อย่างถูกต้อง ถ้าเราเก็บ Driver กันไว้เป็นอย่างดีตั้งแต่ต้น เรื่องก็คงจะไม่มีปัญหาอะไร แต่จากประสบการณ์ของผม ผมพบว่าผู้ใช้โดยทั่วไปมักจะไม่เก็บรักษา หรือเก็บรักษา Driver เหล่านั้นไว้ดีมาก ๆ ดีจนจะนำมาใช้อีกครั้งกลับหาไม่เจอ พูดภาษาโคกอีแร้งก็คือ “หาย” นั่นเองครับ ถ้าเครื่องของท่านสามารถต่อเน็ตได้ ท่านอาจจะคิดว่าเดี๋ยวก็แค่ไปดาวน์โหลด Driver พวกนั้นมาก็สิ้นเรื่อง ไม่เห็นต้องทำ Backup ให้วุ่นวายอะไร แต่ผมเคยพบว่า ภายหลังที่เราเพิ่งทำการติดตั้งหน้าต่างหลายบานลงไปใหม่ ๆ บ่อยครั้งที่มันจะไม่รู้จักกับ LAN Card ของเรา แล้วถ้ามันเป็นอย่างนั้นเราจะต่อออกเน็ตได้ยังไงล่ะ อ่อ ๆ เรามีโมเด็ม (แน่ใจเหรอครับว่าหน้าต่างหลายบานของเราจะรู้จักกับโมเด็มทุกรุ่น ทุกยี่ห้อในโลกนี้) เอาหล่ะครับว่าแล้วเราก็ถือคติป้องกันไว้ก่อนด้วยการทำ Backup Driver ที่มีอยู่ในเครื่องของเราก่อน เพราะวันดี คืนร้าย เจ้าหน้าต่างหลายบานกลับล็อคตัวเองไว้ทุกบานโดยไม่ยอมเปิดให้เราเข้าใช้งาน มันได้ เราก็ยังมั่นใจได้ว่าถ้าจำเป็นจะต้องลง Windows ใหม่ เรายังมี Driver สำหรับอุปกรณ์ของเราพร้อมที่จะติดตั้งตามลงไปได้ทันที

DriverMax 3.3 คือโปรแกรมจะพวก Utility ที่เราจะเอามาใช้กันครับ ด้วยเหตุผลหลายอย่างเช่น มันฟรี (แต่ต้องเสียเวลาลงทะเบียน online ครับ เห็นไหมว่าของฟรี 100% ไม่มีในโลกนี้ ฮี่ ๆ) นอกจากนั้นแล้วด้วยการทำงานที่ง่าย ๆ เพียงการคลิกไม่กี่คลิกท่านก็จะมี Driver ที่พร้อมจะให้ท่านติดตั้งใหม่ได้ หรือจะเก็บไว้เป็น Backup ก็ได้ครับ (ดาวน์ โหลดโปรแกรม DriverMax 3.3 ได้ที่นี่ครับ)

เมื่อท่านดาวน์โหลดโปรแกรมมาแล้วก็ทำการติดตั้งเรียบร้อยแล้ว ท่านจะได้รับคำเตือนว่าท่านสามารถใช้โปรแกรมได้ฟรี 30 วันครับ แต่ถ้าท่านขยันต่ออีกหน่อยท่านก็จะสามารถลงทะเบียนเพื่อใช้งานเจ้าโปรแกรม ตัวนี้ได้ตลอดไปครับ มาลองดูหน้าตาของโปรแกรมกันครับ

เมื่อเราเปิดเข้าใช้งานโปกรแกรมครั้งแรก หน้าตามันจะเป็นแบบนี้ครับ

16.jpg

จากนั้นก็คลิกที่ Driver operations แล้วเลือกที่ Export drivers ครับ

จากนั้นหน้าจอของ Export wizard ก็จะเปิดขึ้น

33.jpg

เมื่อเราคลิก Next ต่อไป โปรแกรมก็จะเริ่มทำการค้นหา Drivers ที่ติดตั้งอยู่ในเครื่องของเราครับ (ตามภาพด้านล่าง)

43.jpg

เมื่อทำการค้นหาเรียบร้อยแล้วก็จะนำเอารายชื่อ Drivers ที่มีอยู่ในเครื่องของเราออกมาให้เห็นครับ เราก็คลิกที่ Select all เพื่อทำการเลือกที่จะ Export Drivers ที่โปรแกรมค้นหาออกมาให้เราทั้งหมดครับ (จะสังเกตุเห็นว่ามีเครื่องหมายถูกปรากฏอยู่ที่หน้า Driver ทุกอัน)

82.jpg

จากนั้นก็ให้เราคลิก Next ได้เลยครับ จากนั้นโปรแกรมก็จะถามเราว่าเราจะ save drivers ไว้ที่ไหน และ save ไว้ในรูปแบบไหน เมื่อถึงตอนนี้ ผมไม่แนะนำให้ติดตั้งตามที่โปรแกรมเลือกไว้เป็น Default ครับ คือเราควรจะเก็บมันไว้ที่อื่นครับ (เพราะตาม Default มันก็จะไปสร้างไว้ใน My Documents นั่นเองครับ ซึ่งถ้าเราจะต้องทำการติดตั้ง) แนะนำว่าควรจะเก็บไว้บนแผ่น CD หรือ Flash Drive ก็ได้ครับ แต่ไม่ควรเก็บไว้ใน Hard disk ที่เราจะทำการติดตั้ง Windows ลงไปใหม่ อีกอย่างก็คือถ้าเราเก็บตามแบบที่โปรแกรมตั้งค่าเอาไว้ อาจจะไม่สะดวกนักในการนำเอาไฟล์ที่ได้จากการ Backup นี้ไปติดตั้ง Drivers เหล่านั้นใหม่ วิธีที่ง่ายสักหน่อยก็คือเลือกที่ตัวเลือกที่สองครับ ซึ่งวิธีการนี้จะเก็บ Drivers ทั้งหมดในรูปของ Zip File เพียงไฟล์เดียว จากนั้นก็เลือกว่าเราจะเก็บไฟล์ที่จะได้ไว้ที่ไหน (ตัวอย่างที่ผมทำก็คือเอาไปไว้บน Desktop ของผมเองเพื่อจะย้ายไฟล์ไปไว้ที่อื่นภายหลัง)

102.jpg

111.jpg

เราก็คลิกที่ Save ได้เลยครับ จากนั้นหน้าจอก็จะพร้อมที่จะทำการ Backup ครับ

121.jpg

ก็ให้เราคลิก Next ต่อไปได้เลยครับ โปรแกรมก็จะเริ่มทำการ Export Drivers ของเราครับ (ตามภาพด้านล่าง)

132.jpg

เมื่อเสร็จแล้วก็คลิก Close ได้เลยครับ

141.jpg

โปรแกรมก็จะกลับมาสู่หน้าจอกหลักครับแล้วเราก็จะได้ไฟล์ Zip มา 1 ไฟล์ครับ เราอาจจะลองทดสอบไฟล์ Zip ที่เราเพิ่งได้มาด้วยการสั่ง Import drivers ที่หน้าจอหลักได้ครับ (จะอยู่ภายใต้เมนูย่อยของ Driver operations ครับ) โปรแกรมก็จะถามว่าเราเก็บไฟล์ Backup ไว้ในรูปไหน ซึ่งตามที่เราทำมานั้น เราเลือกให้มันเก็บไว้ในรูปของ Zip ไฟล์ครับ ดังนั้นเราก็ต้องเลือกให้เป็น Zip ไฟล์ด้วยเช่นกันครับ โดยเลือกที่ Import all drivers from compressed (ZIP) file ครับ จากนั้นก็ชี้ไปที่ ๆ เราเก็บไฟล์นั้นไว้

151.jpg

จากนั้นก็คลิก Next ได้เลยครับ โปรแกรมก็จะเริ่มทำงานแตกไฟล์ Zip แล้วบอกเราว่ามี Drivers ตัวไหนบ้างที่เราสามารถ Install ลงไปได้ ก็ให้เราคลิกที่ Select all ครับ

161.jpg

จากนั้นก็คลิก Next โปรแกรมก็จะถามยืนยันว่าเราต้องการจะติดตั้ง Drivers เหล่านั้น

17.jpg

ก็คลิก Next ต่อไปเลยครับ หน้าจอก็จะ Warning เราอีกครั้งครับ ก็คลิก OK เพื่อให้โปรแกรมเริ่มทำการติดตั้ง Drivers ทั้งหมดได้เลยครับ เมื่อโปรแกรมทำงานเสร็จแล้วก็จะมีหน้าจอเพื่อยืนยันการติดตั้งสมบูรณ์แล้ว ให้เราทราบครับ

18.jpg

เราก็คลิก OK แล้วก็ Close ออกจากโปรแกรมได้เลยครับ โปรแกรมจะถามให้เรา Restart เครื่องเลยหรือจะ Restart ทีหลังก็แล้วแต่เราเลือกครับ แนะนำว่า Restart เครื่องทันทีจะดีกว่าครับ

ก็เป็นอันว่าตั้งแต่การเอาข้อมูลออกมาจากเครื่องที่ไม่ยอม Boot ด้วย Live OS มาจนถึงการลง Windows ใหม่ พร้อมกับการทำ Drivers Backup เอาไว้เพื่อความอุ่นใจของผู้ใช้งานระดับธรรมดาแบบเราก็จบสมบูรณ์แล้วครับ หวังว่าทุกท่านจะสามารถเอาไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ได้บ้างน๊ะครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

คลังบทความของบล็อก